ปลากราย

ปลากราย

ปลากราย เป้นปลาน้ำจืดรูปร่างคล้ายปลาฉลากท้องแบน หรือ ปลา ตอง ลาย ลำตัวด้านข้างแบนมาก สันหลังส่วนต้นสูงชันและค่อย ๆ ลาดลไปยังส่วนหางคล้ายมีด พื้นที่ลำตัวเป็นสีเทาเงิน ลำตัวส่วนบนสีคล่ำกว่าด้านล่าง เกล็ดละเอียด หัวมีขนาดเล็ก ปลายหัวแหลมมน ปากกว้างสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรทั้ง2ข้าง เชิงปลากราย 

ครีบหลังขนาดเล็กปลายมนคล้ายขนนก ครีบท้องยาวเป็นแพรเชื่อมกับครีมหาง เหนือครีบกันมีจุดดำกลางขนาดใหญ่ล้อมรอบ ด้วยวงแหวนสีขาวเรียบเป็นแถวอยู่ 5-10 จุด ลูกปลากราย เมื่อยังเล็กมีแถบสีดำประมาณ 10-15 แถบพาดขวางลำตัว เมื่อโตจะขึ้นแถบดำเหล่านี้ และจะค่อยจางหายไปกลายเป็นจุดขึ้นมาแทนที่ มีขนาดความยาวประมาณ 48-85 เซนติเมตร

ชื่อสามัญ : Soptted Featherback

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chitara ornate

ลักษณะของปลากราย

ปลากลาย มีลักษณะรูปร่างแบน มีส่วนหัวแยกแตกต่างจากลำตัวชัดเจน โดยมีส่วนหัวเล็ก และค่อยโค้งใหญ่ไปจรดกับไหล่หรือครีบหลัง มีรอยเว้าบริเวณต้นคอมากกว่าปลาชนิดอื่นที่พบในวงศ์เดียวกัน มีความลึกของลำตัวประมาณ 3.75-4.25 เท่า ของความยาวลำตัว ปลากรายกินอะไร ส่วนปากมีขนาดค่อนข้างกว้าง มีมุมปากเลยขอบหลังของตามาก ภายในปากมีขากรรไกรยาว และมีฟันที่ขากรรไกร ส่วนอื่นมีซี่เหงือกประมาณ 8-12 คู่ มีรูจมูก 2 รู

ความแตกต่างของเพศ

ปลากราย

ปลาตองกราย เพศผู้มีความแตกต่างกับเพศเมียอย่างชัดเจน คือ ลำตัวเพศผู้จะมีลักษณะยาวกว่าเพศเมีย และ อีกประการ คือ ครีบท้องของเพศผู้จะมีขนาดยาวกว่าเพศเมีย

การดำรงชีพ

ปลากรายเป็นปลาที่พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำไหล และ น้ำนิ่ง แต่โดยตามธรรมชาติดั้งเดิมจะพบตามแหล่งน้ำไหลตามแม่น้ำลำคลองในภาคกลาง และ ภาคเหนือ ทั้งนี้ ปัจจุบัน สามารถพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำทุกประเภททั้งแหล่งน้ำไหล  และ น้ำนิ่ง ทั้งในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และ สระน้ำ จาการนำไปปล่อย และ เลี้ยง ปลา ก ราย มีการเพาะเลี้ยงมากขึ้น

การสืบพันธุ์

ปลากราย จะวางไข่ในช่วงปลายฤดูแล้งจนถึงตลอดฤดูฝน คือ ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม แต่จะวางไข่มากในช่วงต้นฤดูฝน ส่วนเข้ากลางฤดูฝนจะเริ่มวางไข่น้อย โดยจะชอบวางไข่บริเวณโคนต้นไม้ ตอไม้ หรือเสาไม้บริเวณริมชายฝั่งที่มีที่ยึดเกาะ และ เป็นที่โล่ง 

วิธี เลี้ยง ปลา ก ราย แต่จะไม่ชอบวางไข่บริเวณกอหญ้ารกเหมือนกับปลาอื่นๆ โดยตัวผู้จะทำหน้าที่ในการตีดินหรือขุดหลุม หรือ โพรงรอบๆโคนต้นไม้ หรือ เสาไม้ ทั้งนี้ ตัวผู้ และตัวเมียจะคอยช่วยกันดูแลไข่จนกว่าไข่จะฟักออก

ประโยชน์ของปลากราย

  1. ปลากราย จัดเป็นปลาเนื้ออ่อน เนื้อมีลักษณะขาวอมแดงเล็กน้อย และมีเลือด และมีก้างน้อย ให้เนื้อมาก เนื้อมีรสอร่อย จึงนิยมนำมาประกอบอาหารในหลายเมนู อาหาร ปลา ก ราย อาทิ ห่อหมกปลากราย ต้มยำปลากราย หรือ ลาบปลากราย เป็นต้น
  2. จากเนื้อปลากรายที่ค่อนข้างขาว และ ให้เนื้อมาก จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นลูกชื้นปลากราย
  3. ปลากรายตามธรรมชาติ เป็นปลาที่ค่อนข้างหายาก หากจับได้ตามธรรมชาติจะมีราคาค่อนข้างสูง จึงเป็นรายได้ดีอย่างหนึ่งของการทำประมง การ เลี้ยง ปลา ก ราย เพราะปลากรายที่จับจากธรรมชาติจะมีราคาสูงกว่าปลากรายที่มาจากบ่อเพาะเลี้ยง
  4. ปลากรายมีรูปร่างแบน ลำตัวมีสีขาวเงิน และ มีจุดดำข้างลำตัว จึงเป็นที่นิยมในการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้ปลา

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : https://OneUndersea.com

อ่านบทความเรื่องอื่นๆ : ม้าน้ำ